สัตว์ทะเลหน้าดิน ( marine benthos ) หมายถึงสัตว์ทะเลที่มีกระดูกสันหลังและที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นท้อง ทะเลโดยบางชนิดอาศัยอยู่บนพื้นดิน บางชนิดฝังตัวอยู่ในดินตลอดจนพวกที่หากินบนพื้นท้องทะเล พวกหลังนี้ได้แก่พว กปลาหน้าดิน เ ช่น ปลาซักเดียว และปลาเก๋า ก็จัดว่าเป็นสัตว์ทะเลหน้าดินด้วย นอกจากปลาหน้าดินแล้ว พวกกุ้ง หอย และปู จัดเป็นสัตว์ทะเลหน้าดินที่เรารู้จักกันดีเนื่องจากเป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
สัตว์ทะเลหน้าดินมีบทบาทที่สำคัญในทะเลคือเป็นอาหารที่สำคัญสำหรับสัตว์น้ำชนิดอื่นและปลาหลายชนิด ความหนาแน่นของ สัตว์ทะเลหน้าดินในบริเวณใดบริเวณหนึ่งในทะเลเป็นสิ่งชี้บ่งถึงความอุดมสมบูรณ์สำหรับปลาและสัตว์น้ำที่อาศัยในบริเวณนั้น โดยเฉพาะฝูงปลาและสัตว์น้ำ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
ชนิดของสัตว์ทะเลหน้าดิน
การแบ่งกลุ่มของสัตว์ทะเลหน้าดินที่อาศัยนั้นแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ คือ
๑. กลุ่มสัตว์ทะเลหน้าดินที่อาศัยอยู่บนพื้นท้องทะเล (Epifauna) ซึ่งพื้นท้องทะเลดังกล่าวอาจเป็นพื้นหาดหิน หาดทราย หาดโคลน ป่าชายเลน ระบบนิเวศหญ้าทะเล หรือแนวปะการังสัตว์ทะเลหน้าดินกลุ่มนี้มีความหลากหลายทางชีวภาพมาก พบตัวแทนเกือบทุกไฟลัมนับตั้งแต่โปรโตซัวไปจนถึงพวกที่มีกระดูกสันหลัง เช่นปลาหน้าดินที่อาศัยหากินตามพื้นท้องทะเลด้วย
๒. กลุ่มสัตว์ทะเลหน้าดินที่อาศัยฝังตัวหรือขุดรูอยู่ภายใต้พื้นทรายและโคลน (Infauna) เช่นพวกไส้เดือนทะเล พวกปู และพวกหอยสองฝาบางชนิด เช่น หอยแครง และหอยลาย เป็นต้น
การแบ่งชนิดของสัตว์ทะเลหน้าดินอาจแบ่งตามขนาด ซึ่งมีการแบ่งได้หลายแบบแล้วแต่ผู้ที่ทำการศึกษาเป็นผู้กำหนดช่วงขนาด ที่นิยมมากเป็นระบบอเมริกัน ดังต่อไปนี้
๑. กลุ่มแมคโครฟัวนา (Macrofauna) หมายถึง พวกที่มีขนาดตั้งแต่ ๒ มิลลิเมตรขึ้นไปสัตว์ทะเลหน้าดินโดยทั่วไป เช่น หอย กุ้ง ปูและไส้เดือนทะเล จัดอยู่ในกลุ่มนี้ เป็นกลุ่มที่มีการศึกษามากที่สุดเพราะมีขนาดใหญ่พอสมควรสามารถสุ่มวัดได้ง่าย
๒. กลุ่มไมโครฟัวนา (Microfauna) หมายถึงพวกที่มีขนาดตั้งแต่ ๐.๕-๑.๒ มิลลิเมตร มักมการศึกษากันน้อย เช่น ไส้เดือนทะเล และหนอนตัวกลม เป็นต้น ต้องมีวิธีการเก็บตัวอย่างและวิธีการศึกษาโดยเฉพาะ
แบ่งกลุ่มของสัตว์ทะเลหน้าดินออกตามลักษณะการกินอาหารของมัน ซึ่งจะสัมพันธ์กับลักษณะพื้นท้องทะเลที่มันอาศัยอยู่ด้วย
๑. พวกที่กินพืชเป็นอาหาร (Herbivores) ตัวแทนที่สำคัญ ได้แก่ พวกหอยฝาเดียวและพวกหอยเม่น พวกนี้จะมีฟันสำหรับแทะสาหร่าย หรือพืชขนาดเล็กที่เกาะตามพื้นหิน
๒. พวกที่กินสัตว์เป็นอาหาร (Carnivores) ตัวแทนที่สำคัญ ได้แก่ หอยฝาเดียวบางชนิด เช่นหอยกระแจะหรือหอยมะระที่ชอบเจาะไชกินหอยนางรมและเพรียงเป็นอาหาร ปลาดาวหลายชนิดชอบกินหอยสองฝาและปูทะเล
๓. พวกที่กรองอาหารจากมวลน้ำ (Filterfeeders) พวกนี้มีอวัยวะสำหรับกรองพวกแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์จากมวลน้ำ อวัยวะที่ใช้กรองอาหารอาจเป็นหนวด รยางค์ส่วนปากหรือส่วนเหงือก ตัวอย่างสัตว์กลุ่มนี้ ได้แก่ หอยนางรม หอยแมลงภู่ หอยกะพง และจักจั่นทะเล
๔. พวกที่กินอินทรียสารเป็นอาหาร พวกนี้แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้อีก คือพวกที่ดำรงชีพโดยการกินซากพืชซากสัตว์ (Scavengers) เท่านั้นเช่น พวกแมลงสาบทะเล พวกปูก้ามดาบเป็นพวกที่กัดกินซากพืชซากสัตว์หรือกินพวกบัคเตรีและจุลชีพบนอินทรียสาร (Detritus feeders) พวกปลิงทะเลจะกินอินทรียสารที่อยู่ในดินเป็นอาหาร(Deposit feeders) โดยอาจกินกรวดทรายเข้าไปในตัว และมีกระบวนการย่อยและดูดซึมเฉพาะอินทรียสารไว้ และถ่ายกรวดทรายออกมาในรูปของอุจจาระ
การปรับตัวของสัตว์ทะเลหน้าดิน
สัตว์ทะเลหน้าดินจำเป็นต้องลงเกาะกับพื้นท้องทะเลหรือฝังตัวอยู่ใต้พื้นท้องทะเล ในขณะเดียวกันต้องอยู่ในตำแหน่งและลักษณะที่เหมาะสมเพื่อสามารถหายใจและกินอาหารได้ ลักษณะพื้นท้องทะเลจะมีความสำคัญมากในการกำหนดรูปแบบการปรับตัวและรูปร่างของสัตว์ทะเลหน้าดิน กระแสน้ำก็มีความสำคัญมากเช่นกันในการกำหนดคุณลักษณะของพื้นท้องทะเล ตลอดจนการปรับตัวของสัตว์ทะเลหน้าดิน ทั้งที่เกาะติดกับที่หรือที่คืบคลานต่อกระแสน้ำ
สัตว์ทะเลมีพิษ
ปะการังมีพิษ |
ปะการัง เป็นสัตว์ทะเลชนิดหนึ่งจะเกิดอันตรายโดยตรงได้ก็คือการบาดหรือขูดขีดกับร่างกาย ที่ร้ายไปกว่านั้นก็คือ ปะการังซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของแมงกะพรุน หากไปถูกเข้าก็ควรใช้ผงที่ทำให้เนื้ออ่อนนุ่ม หรือใช้ครีมพวกไฮโดรคอร์ทิโซนช่วยบรรเทาอาการ
เพรียงและหอยนางรม เป็นสัตว์ทะเลเช่นกันแม้ว่าจะดูไม่น่าอันตรายแต่กลับปรากฏว่านักดำน้ำส่วนมากเกิดบาดแผลจากเพรียงและหอยนางรมมากกว่าอย่างอื่น เพราะสัตว์พวกนี้จะอาศัยอยู่กับก้อนหินซึ่งนักดำน้ำมักขึ้นไปยืนจึงโดนบาดเอา บางครั้งถึงกับต้องส่งโรงพยาบาล เพราะบาดแผลขนาดใหญ่สาเหตุจากคลื่นที่ส่งตัวนักดำน้ำเข้าไปที่ก้อนหินดังกล่าว
แมงกระพรุน |
แมงกะพรุน จัดได้ว่าป็นสัตว์ทะเลชนิดเดียว ที่สร้างความลำบากให้กับนักดำน้ำมาโดยตลอด เพราะมีโอกาสได้ทุกเวลาและทุกแห่งหน แมงกะพรุนเป็นสัตว์ทะเลที่มีพิษเป็นส่วนมากบางชนิดก็มีพิษมากบางชนิดก็มีพิษน้อย โดยการที่มันปล่อยเข็มพิษลงในผิวหนัง ไปถูกมันจะมีอาการคันและปวดแสบร้อน ใช้ครีมไฮโดรคอร์ทิโซนทาให้ทั่ว วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการสวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกาย
ปลากระเบน |
ปลากระเบน พบได้บ่อยในเขตน้ำเค็มและบริเวณที่พื้นเป็นทราย หากไปเหยียบเงี่ยงที่โคนหางจะมีอาการเจ็บปวดมาก วิธีแก้ไขคือใช้น้ำร้อนจัดพอทนไหวแล้วจุ่มส่วนที่เป็นบาดแผลลงไปหรือใช้ชุบน้ำร้อนพันรอบบริเวณที่ปวดอย่างน้อย 20 นาที
ปลาฉลาม |
ปลาฉลาม เป็นปลาที่สร้างความหวาดกลัวให้กับผู้ที่คิดจะลงน้ำอย่างมาก แต่ก็มีโอกาสพบได้น้อยมากตามบริเวณชายฝั่ง โอกาสที่นักดำน้ำแบบสกินไดวิ่งจะพบแทบจะไม่มี
ปลาคางคก ชอบนอนสงบนิ่งอยู่ตามพื้นทะเลใกล้แนวปะการัง เพื่อเฝ้ารอปลาเล็กว่ายผ่านไปมาเป็นเหยื่อ พิษของมันอยู่ที่ก้านครีบ เมื่อโดนแทงจะปวดบวมมากจะใช้เวลารักษา 1 สัปดาห์
หอยเต้าปูน มีฉายาอีกว่า ''หอยมรณะ'' |
หอยเต้าปูน เป็นสัตว์ที่มีความสวยงามเหมือนหอยทั่วไปแต่แฝงไว้ด้วยพิษร้ายแรงอาจถึงชีวิตได้ หอยเต้าปูนเป็นหอยที่มีลักษณะเป็นกรวยแหลม มีลวดลายสวยสะดุดตา เข็มพิษที่มันใช้เพื่อหาอาหารไม่อาจจะทำอันตรายให้กับเราได้ ถ้าไม่จับมัน
สัตว์ทะเลผิวขรุขระ
สัตว์ทะเลผิวขรุขระ สัตว์พวกนี้ตามผิวลำตัวมักหยาบ ขรุขระ และแข็ง เพราะมีสารพวกหินปูนเป็นองค์ประกอบ ไม่มีส่วนหัว บางชนิดร่างกายแยกเป็นแฉก เช่น ดาวทะเล บางชนิดรูปร่างกลมแบน เช่น อีแปะทะเล บางชนิดมีหนามยาวทั้งลำตัว เช่น เม่นทะเล บางชนิดมีผิวหนังหนา ขรุขระแต่ไม่แข็ง เช่น ปลิงทะเล สัตว์พวกนี้หายใจโดยใช้ปุ่มตามผิวหนัง สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ส่วนใหญ่เพศผู้และเพศเมียแยกจากกัน
พวกฟองน้ำ สัตว์พวกนี้ลำตัวเป็นโพรง มีช่องเปิดด้านบน มีรูพรุนให้น้ำออก มีหนามหรือเส้นใยเป็นโครงค้ำจุนร่างกาย สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ ไม่มีระบบประสาท ส่วนใหญ่อาศัยในน้ำเค็ม เช่น ฟองน้ำต่างๆ
พวกหนอนตัวแบน สัตว์พวกนี้ลำตัวแบนยาว มีปาก แต่ไม่มีทวารหนัก ไม่มีระบบหมุนเวียนเลือด สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ มี 2 เพศในตัวเดียวกัน ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตเป็นปรสิต เช่น พยาธิตัวตืด พยาธิใบไม้
พวกสัตว์ลำตัวมีโพรง สัตว์พวกนี้ลำตัวคล้ายทรงกระบอก มีช่องเปิดออกจากลำตัวเพียงช่องเดียว กลางลำตัวเป็นโพรง เป็นทางให้อาหารเข้า และกักอาหารออกจากลำตัว มีเข็มพิษไว้ป้องกันตัวและจับเหยื่อ สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ บางชนิดอาศัยในน้ำเค็ม เช่น แมงกะพรุน ปะการัง ดอกไม้ทะเล และบางชนิดอาศัยในน้ำจืด เช่น ไฮดรา
พวกลำตัวเป็นปล้อง สัตว์พวกนี้ลำตัวกลมยาว คล้ายวงแหวน ต่อกันเป็นปล้อง ผิวหนังเปียกชื้น มีระบบหมุนเวียนเลือดแบบปิด มีระบบประสาท และระบบทางเดินอาหาร สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ มีอวัยวะสืบพันธุ์ทั้ง 2 เพศในตัวเดียวกัน บางชนิดอาศัยบนบก เช่น ไส้เดือนดิน ทากดูดเลือด บางชนิดอาศัยในน้ำ เช่น ปลิงน้ำจืด
พวกมีขาเป็นข้อ สัตว์พวกนี้จะมีขาต่อกันเป็นข้อๆ ลำตัวแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง มีระบบหมุนเวียนเลือด มีระบบประสาท และมีระบบทางเดินอาหารที่สมบูรณ์ สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สัตว์พวกนี้ได้แก่ แมลงต่างๆ ปู กุ้ง แมงป่อง แมงดาทะเล ตะขาบ กิ้งกือ เป็นต้น
พวกหอยและหมึกทะเล สัตว์จำพวกนี้ลำตัวนิ่ม มีหัวใจสูบฉีดเลือด หอยเคลื่อนที่ได้โดยกล้ามเนื้อที่ยื่นออกจากตัว ส่วนหมึกทะเลเคลื่อนที่โดยใช้หนวด และการพ่นน้ำออกจากลำตัว สัตว์พวกนี้ส่วนใหญ่หายใจด้วยปอดและผิวหนัง สืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ ออกลูกเป็นไข่ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำเค็ม เช่น หอยและหมึกทะเล บางชนิดอาศัยอยู่บนบก เช่น หอยทาก
สัตว์ทะเล สวยที่สุดในโลก (Leafy Sea Dragon)
Leafy Sea Dragon มังกรทะเลใบไม้ พวกมันเป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง ที่เป็นญาติใกล้ชิดกับ ม้าน้ำ(Seahorse) แต่ไม่ใช่ม้าน้ำ ที่พบได้เพียงแหล่งเดียวในโลกที่ประเทศออสเตรเลีย เท่านั้น
ข้อมูลเฉพาะ ของ มังกรทะเลใบไม้(Leafy Sea Dragon)
- มังกรทะเลใบไม้และม้าน้ำถูกจัดอยู่ในวงศ์ Syngnathidae
- มังกรทะเลใบไม้ก็เป็นสมาชิกเพียงชนิดเดียวในสกุล Phycodurus
- เป็นปลาประจำถิ่นจึงพบได้เพียง บริเวณทางตอนใต้ และทางตะวันตก ของประเทศออสเตรเลีย( Australia )
- ส่วนชื่อนั้นมาจาก รูปร่างที่คล้ายมังกร และทั่วทั้งลำตัวมีสิ่งที่ยื่นออกมาคล้ายใบไม้ปกคลุมเต็มไปหมด
- ส่วนที่ยื่นออกมานี้ไม่มีส่วนในการช่วยในการว่ายน้ำเลย ทั้งหมดมีประโยชน์เพียงเพื่อการพลางตัวเท่านั้น
- พวกมันไม่ชอบว่ายน้ำ แต่จะใช้การเคลื่ยนที่โดยการ ไหลไปตามกระแสน้ำ ยิ่งทำให้พวกมันเหมือนใบไม้ที่ลอยไปในทะเลยิ่งขึ้น
- เมื่อโตเต็มที่ มังกรทะเลใบไม้จะมีความยาวประมาณ 20 - 24 เซ็นติเมตร
- พวกมันกินพวกแพลงตอน(Plankton) และสิ่งมีชีวิตเล็กๆ เนื่องจากปากที่มีลักษณะเล็ก ยาว
- แต่มังกรทะเลใบไม้ก็ยังมีพฤติกรรมเหมือนม้าน้ำ คือตัวผู้จะเป็นตัวที่อุ้มท้องเหมือนม้าน้ำ แต่มันไม่ใช่ม้าน้ำ จึงไม่มีกระเป๋าหน้าท้องไว้ฟักใข่ แต่ตัวเมียจะวางไข่ติดไว้ที่หางของตัวผู้แทน
10 อันดับอสูรกายใต้ทะเล
ปลาหิน (Stonefish) |
ปลาหิน เป็นปลาที่หน้าตาไม่น่ารักเลย แต่มันก็พรางตัวได้อย่างดีเยี่ยมบนพื้นทราย มองดูเหมือนก้อนหินที่ถูกปะการังปกคลุม แถมมันยังเป็นปลามีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก พิษของมันอยู่ที่หนามบนตัว มันไม่ออกล่าหรือจู่โจม แต่หากเหยื่อไปแตะต้องถูกตัวมัน จะได้รับพิษของมันทันที ว่ากันว่า หากคุณถูกพิษของมัน จะต้องได้รับความเจ็บปวดมากที่สุดเท่าที่จะสามารถเจ็บได้ จากนั้นจะเป็นอัมพาต และตายในที่สุด
ปลาดึกดำบรรพ์ซีลาแคนท์ |
ซีลาแคนท์ เป็นปลาโบราณ ที่เคยถูกคิดว่าสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ 400 ล้านปีก่อนแล้ว แต่แล้วก็ถูกค้นพบอีกครั้งในปี 1938 ถูกตั้งฉายาว่า “ปลาที่ถูกกาลเวลาลืม”
ปลาดราก้อน (Dragonfish) |
ปลาทะเลน้ำลึกชนิดนี้ นับเป็นนักล่าที่ค่อนข้างพิลึก ด้วยลักษณะลำตัวผอม ๆ หัวโต และฟันใหญ่แหลมคม แต่ทั้งตัวก็มีความยาวเพียง 15 เซนติเมตร มันหลอกล่อเหยื่อด้วยแสงไฟจากส่วนที่ยื่นออกมาใต้คาง
เจ้าปลาหน้าตาน่าเกลียดตัวนี้ แม้จะดูเหมือนสัตว์ประหลาด แต่ก็มีความยาวเพียงประมาณ 6 นิ้วเท่านั้น และมีศีรษะใหญ่ ฟันยาว เป็นความโชคดีที่คุณคงจะไม่เจอมันง่าย ๆ หรอก เพราะมันอาศัยอยู่ในน้ำลึกประมาณ 5,000 เมตร
ปลาแองเกลอ (Anglerfish) |
วาฬชนิดนี้ เป็นพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาวาฬทั้งหลาย ตัวโตเต็มวัยสามารถมีความยาวได้มากกว่า 18 เมตร และหนักได้ถึง 28 ตัน ลักษณะเด่นของมันคือส่วนหัวจะใหญ่มาก มีความยาวเกือบ 40% ของความยาวตลอดตัว เป็นวาฬที่สามารถดำน้ำได้ลึกที่สุด
ปูยักษ์ในรูปนี้ ขนาดใหญ่สุดวัดความยาวได้ถึง 1.5 เมตร และหนักถึง 10 กิโลกรัม ลักษณะน่าเกรงขามเหมือนแมงมุมยักษ์แห่งท้องทะเลเลยทีเดียว
วาฬหัวทุย (Sperm Whales) |
วาฬชนิดนี้ เป็นพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาวาฬทั้งหลาย ตัวโตเต็มวัยสามารถมีความยาวได้มากกว่า 18 เมตร และหนักได้ถึง 28 ตัน ลักษณะเด่นของมันคือส่วนหัวจะใหญ่มาก มีความยาวเกือบ 40% ของความยาวตลอดตัว เป็นวาฬที่สามารถดำน้ำได้ลึกที่สุด
ปูยักษ์ (Giant Crabs) |
ปูยักษ์ในรูปนี้ ขนาดใหญ่สุดวัดความยาวได้ถึง 1.5 เมตร และหนักถึง 10 กิโลกรัม ลักษณะน่าเกรงขามเหมือนแมงมุมยักษ์แห่งท้องทะเลเลยทีเดียว
หมึกยักษ์ (Giant ) |
ส่งอาจารย์ครับบบ :)
ตอบลบ